บทที่ 5 จริยธรรมสารสนเทศและสิทธิทางปัญญา

บทที่ 5   จริยธรรมสารสนเทศและสิทธิทางปัญญา
1.   อาชญากรรมคอมพิวเตอร์  คืออะไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
อาชญากรรมคอมพิวเตอร์  คือ  การกระทำผิดทางอาญาในระบบคอมพิวเตอร์ หรือการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อกระทำผิดทางอาญา เช่น ทำลาย เปลี่ยนแปลง หรือขโมยข้อมูลต่าง ๆ เป็นต้น ระบบคอมพิวเตอร์ในที่นี้หมายรวมถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เชื่อมกับระบบดังกล่าวด้วยสำหรับอาชญากรรมในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (เช่น อินเทอร์เน็ต) อาจเรียกได้อีกอย่างหนึ่งคือ อาชญากรรมไซเบอร์ (อังกฤษ: Cybercrime)  อาชญากรที่ก่ออาชญากรรมประเภทนี้ มักถูกเรียกว่า แครกเกอร์ 
มีการจำแนกไว้ดังนี้       
1.Novice เป็นพวกเด็กหัดใหม่(newbies)ที่เพิ่งเริ่มหัดใช้คอมพิวเตอร์มาได้ไม่นาน หรืออาจหมายถึงพวกที่เพิ่งได้รับความไว้วางใจให้เข้าสู่ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
2.Darnged person คือ พวกจิตวิปริต ผิดปกติ มีลักษณะเป็นพวกชอบความรุนแรง และอันตราย มักเป็นพวกที่ชอบทำลายทุกสิ่งที่ขวางหน้าไม่ว่าจะเป็นบุคคล สิ่งของ หรือสภาพแวดล้อม
3.Organized Crime พวกนี้เป็นกลุ่มอาชญากรที่ร่วมมือกันทำผิดในลักษณะขององค์กรใหญ่ๆ ที่มีระบบ พวกเขาจะใช้คอมพิวเตอร์ที่ต่างกัน โดยส่วนหนึ่งอาจใช้เป็นเครื่องหาข่าวสาร เหมือนองค์กรธุรกิจทั่วไป อีกส่วนหนึ่งก็จะใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นตัวประกอบสำคัญในการก่ออาชญากรรม หรือใช้เทคโนโลยีกลบเกลื่อนร่องร่อย ให้รอดพ้นจากเจ้าหน้าที่
4.Career Criminal พวกอาชญากรมืออาชีพ เป็นกลุ่มอาชญากรคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่มาก กลุ่มนี้น่าเป็นห่วงมากที่สุด เนื่องจากนับวันจะทวีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยจับผิดแล้วจับผิดเล่า บ่อยครั้ง
5. Com Artist คือพวกหัวพัฒนา เป็นพวกที่ชอบความก้าวหน้าทางคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ส่วนตน อาชญากรประเภทนี้จะใช้ความก้าวหน้า เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ และความรู้ของตนเพื่อหาเงินมิชอบทางกฎหมาย
6.Dreamer พวกบ้าลัทธิ เป็นพวกที่คอยทำผิดเนื่องจากมีความเชื่อถือสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างรุ่นแรง
7.Cracker หมายถึง ผู้ที่มีความรู้และทักษะทางคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี จนสามารถลักลอบเข้าสู่ระบบได้ โดยมีวัตถุประสงค์เข้าไปหาผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง มักเข้าไปทำลายหรือลบไฟล์ หรือทำให้คอมพิวเตอร์ใช้การไม่ได้ รวมถึงทำลายระบบปฏิบัติการ 
อาชญากรรมคอมพิวเตอร์   ปัจจุบันทั่วโลกจัดออกเป็น 9 ประเภท (ตามข้อมูลคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจร่างกฎหมายอาชญาญากรรมคอมพิวเตอร์)
     1.การขโมยข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งรวมถึงการขโมยประโยชน์ในการลักลอบใช้บริการ
     2.อาชญากรนำเอาระบบการสื่อสารมาปกปิดความผิดของตนเอง
     3.การละเมิดสิทธิ์ปลอมแปรงรูปแบบ เลียนแบบระบบซอพต์แวร์โดยมิชอบ
     4.ใช้คอมพิวเตอร์แพร่ภาพ เสียง ลามก อนาจาร และข้อมูลที่ไม่เหมาะสม
     5.ใช้คอมพิวเตอร์ฟอกเงิน
     6.อันธพาลทางคอมพิวเตอร์ที่เช้าไปก่อกวน ทำลายระบบสาราณูปโภค เช่น ระบบจ่ายน้ำ จ่ายไป ระบบการจราจร
     7.หลอกลวงให้ร่วมค้าขายหรือลงทุนปลอม
     8.แทรกแซงข้อมูลแล้วนำข้อมูลนั้นมาเป็น)ระโยชน์ต่อตนโดยมิชอบ เช่น ลักรอบค้นหารหัสบัตรเครดิตคนอื่นมาใช้ ดักข้อมูลทางการค้าเพื่อเอาผลประโยชน์นั้นเป็นของตน
     9.ใช้คอมพิวเตอร์แอบโอนเงินบัญชีผู้อื่นเข้าบัญชีตัวเอง
กรณีตัวอย่าง   กรณี พนักงานบริษัทที่รับออกแบบพัฒนาเว็บไซต์
         
บริษัทชั้นนำแห่งหนึ่งที่รับออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ ซึ่งมีลูกค้าทั้งในและต่างประเทศได้ถูกพนักงานในบริษัทนั้น แอบไปรับงานนอก โดยใช้ ทรัพยากร,อุปกรณ์เครื่องมือ, Software และเทคโนโลยี ต่างๆ ของบริษัท ใช้ในการพัฒนา และแอบอ้างผลงานของบริษัทฯ (ซึ่งต้องทำหลายคน) ว่าเป็นผลงานของตนเองในการเสนอขอทำงาน
ปัญหา กรณีต่างๆที่เกิดขึ้นนี้ แม้ว่าบางกรณีจะมีกฎหมายกำหนดไว้อย่างชัดเจน แต่ในทางปฏิบัติผู้ที่ได้รับผลกระทบ จะดำเนินการอย่างไร ทั้งในเรื่องหลักฐานการสืบสวนหาผู้กระทำผิด ซึ่งหากเกิดขึ้นควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อช่วยเหลือในการดำเนินการ
2.อธิบายความหมายของ คำต่อไปนี้
2.1 แฮกเกอร์ ( Hacker) คือ ผู้ค้นหาจุดอ่อนของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครือข่าย แล้วลักลอบเข้าไปในระบบ เพื่อกระทำการบางอย่างที่ระบบไม่ได้เตรียมป้องกันไว้ ซึ่งมีแรงจูงใจในการกระทำมาจากผลประโยชน์ การประท้วง ท้าทาย หรือช่วยหาจุดบกพร่อง
ที่มาข้อมูล :  http://www.thaiall.com
2.2 แคร็กเกอร์ (อังกฤษ: cracker) อาจหมายถึงการก่ออาชญากรรมทางโลกไซเบอร์ มีลักษณะคล้ายกกับแฮกเกอร์แต่แตกต่างกันตรงความคิดและเจตณา แฮกเกอร์ คือผู้ที่นำความรู้ในการแฮกไปใช้ในทางที่มีประโยชน์ ส่วนแครกเกอร์ คือผู้ที่นำความรู้ในการแฮกไปใช้ในการทำความผิด เช่น การขโมยข้อมูล การทำลายข้อมูล หรือแม้กระทั่งการครอบครองคอมพิวเตอร์คนอื่น
ที่มาข้อมูล : http://th.wikipedia.org
2.3 สแปม (Spam) คือ การส่งอีเมลที่มีข้อความโฆษณาไปให้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้รับ การสแปมส่วนใหญ่ทำเพื่อการโฆษณาเชิงพาณิชย์ มักจะเป็นสินค้าที่น่าสงสัย หรือการเสนองานที่ทำให้รายได้อย่างรวดเร็ว หรือบริการที่ก้ำกึ่งผิดกฏหมาย ผู้ส่งจะเสียค่าใช้จ่ายในการส่งไม่มากนัก แต่ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่จะตกอยู่กับผู้รับอีเมลนั้น
ที่มาข้อมูล : http://www.u.arizona.edu
2.4 โทรจัน (Trojan) คือโปรแกรมจำพวกหนึ่งที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อแอบแฝง กระทำการบางอย่าง ในเครื่องของเรา จากผู้ที่ไม่หวังดี ชื่อเรียกของโปรแกรมจำพวกนี้ มาจากตำนานของม้าไม้แห่งเมืองทรอย  โทรจันจะถูกแนบมากับ อีการ์ด อีเมล์ หรือโปรแกรมที่มีให้ดาวน์โหลดตามอินเทอร์เน็ตในเว็บไซต์ใต้ดิน และสามารถเข้ามาในเครื่องของเรา โดยที่เราเป็นผู้รับมันมาโดยไม่รู้ตัวนั่นเอง
ที่มาข้อมูล : http://www.bkkonline.com
2.5 สปายแวร์ (Spyware) คือ โปรแกรมที่แฝงเข้ามาในคอมพิวเตอร์ขณะที่คุณท่องอินเตอร์เน็ต ถูกเขียนขึ้นมาสอดส่อง การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ และจะทำการเก็บพฤติกรรมการใช้งานอินเตอร์เน็ตของเรา รวมถึงข้อมูลส่วนตัวหลาย ๆ อย่างได้แก่ ชื่อ - นามสกุล , ที่อยู่ , E-Mail --mlinkarticle--} Address และอื่น ๆ ซึ่งอาจจะรวมถึงสิ่งสำคัญต่าง ๆ เช่น Password หรือ หมายเลข บัตรเครดิตของเราด้วย นอกจากนี้อาจจะมีการสำรวจโปรแกรม และไฟล์ต่าง ๆ ในเครื่องเราด้วย  และ Spyware นี้จะทำการส่งข้อมูลดังกล่าวไปในเครื่องปลายทางที่โปรแกรมได้ระบุเอาไว้ ดังนั้นข้อมูลต่าง ๆ ในเครื่องของคุณอาจไม่เป็นความลับอีกต่อไป spyware อาจเข้ามาเพื่อโฆษณาสินค้าต่าง ๆ บางตัวก็สร้างความรำคาญเพราะจะเปิดหน้าต่างโฆษณาบ่อย ๆ แต่บางตัวร้ายกว่านั้น คือ ทำให้คุณใช้อินเตอร์เน็ทไม่ได้เลย
ที่มาข้อมูล : http://ccs.sut.ac.th


3.จงยกตัวอย่างกฎหมาย ICT หรือ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์มีอะไรบ้างจงอธิบายถึงการกระทำผิดและบทลงโทษมา 5 ตัวอย่าง
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 
ประกาศ 18 มิถุนายน2550  และมีผลวันที่ 18  กรกฎาคม 2550
สาระสำคัญของ พ.ร.บ.
1. ฐานความผิดที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ (มาตรา 5-16)
การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ (มาตรา 5)
การล่วงรู้ถึงมาตรการป้องกันการเข้าถึง (มาตรา 6)
การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ (มาตรา 7)
การดักข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ (มาตรา 8)
การรบกวนข้อมูลคอมพิวเตอร์ (มาตรา 9)
การรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ (มาตรา 10)
การส่งสแปมเมล์ Spam Mail (มาตรา 11)
การกระทำความผิดต่อความมั่นคง (มาตรา 12)
การจำหน่าย / เผยแพร่ชุดคำสั่ง เพื่อใช้กระทำความผิด (มาตรา 13)
การปลอมแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์ / เผยแพร่เนื้อหาอันไม่เหมาะสม (มาตรา 14)
ความรับผิดของผู้ให้บริการ (มาตรา 15)
การเผยแพร่ภาพจากการตัดต่อ / ดัดแปลง (มาตรา 16)
2. เขต (ประเทศ) อำนาจของศาลในการพิจารณาคดี (มาตรา 17)
3. อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายใหม่ (มาตรา 18-21)
อำนาจของเจ้าพนักงานโดยเด็ดขาด
(1) มีหนังสือสอบถาม / ให้ส่งคำชี้แจง ให้ถ้อยคำ
(2) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์
(3) สั่งให้ส่งมอบข้อมูลผู้ใช้บริการตามมาตรา 26
อำนาจของเจ้าพนักงานที่ต้องขออำนาจศาล
(4) ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์
(5) สั่งให้บุคคลส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้จัดเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์
(6) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์
(7) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์
(8) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์
4. อำนาจของ รมต.ไอซีที ระงับการทำให้เผยแพร่.. (มาตรา 20)
5. บทกำหนดโทษสำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ หากเปิดเผย หรือประมาท (มาตรา 22-24)
6. ข้อมูลที่ใช้เป็นพยายานหลักฐาน ต้องไม่เกิดจากการจูงใจ หรือข่มขู่ (มาตรา 25)
7. การจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ (มาตรา 26)
8. ข้อกำหนดให้ปฎิบัติตามพ.ร.บ.นี้ (มาตรา 27 - 30)

นิยาม
ระบบคอมพิวเตอร์หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ
ข้อมูลคอมพิวเตอร์หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลาชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น
ผู้ให้บริการหมายความว่า
(1) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
(2) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
ผู้ใช้บริการหมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม
พนักงานเจ้าหน้าที่หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์  5 ตัวอย่าง
มาตรา 5 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สําหรับตน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา6  ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทําขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านํามาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา 7 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สําหรับตน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา8 ผู้ใดกระทําด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น มิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน สามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา 9 ผู้ใดทําให้เสียหาย ทําลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน หนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา 10 ผู้ใดกระทําด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทํางานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น ถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทํางานตามปกติได้ต้องระวางโทษจําคุก ไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา 11 ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิด หรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของ บุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

มาตรา 12 ถ้าการกระทําความผิดตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10
(1) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันที หรือในภายหลัง และไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสิบปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท
(2) เป็นการกระทําโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบ คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคง ในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทําต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท ถ้าการกระทําความผิดตาม (1) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น